การศึกษาการบริหารจัดการกิจกรรมลูกเสือสามัญโดยใช้กระบวนการ P D C A ของโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการ
|
การศึกษาการบริหารจัดการกิจกรรมลูกเสือสามัญโดยใช้กระบวนการ P D C A ของโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ศึกษา นายวิทยา คำฮอม ปีที่ประเมิน 2555 บทคัดย่อ รายงานวิจัยการบริหารจัดการกิจกรรมลูกเสือสามัญโดยใช้กระบวนการ P D C A ของโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการและศึกษาปัญหาข้อเสนอแนะกิจกรรมลูกเสือสามัญโดยใช้กระบวนการ P D C A ของโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2555 กลุ่มประชากรทั้งสิ้น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 7 คนกลุ่มครูผู้สอนกิจกรรมลูกเสือสามัญ จำนวน 37 คนรวมทั้งสิ้นจำนวน 44 คนโดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามเครื่องมือ แล้วนำผลมาวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาการบริหารจัดการกิจกรรมลูกเสือสามัญโดยใช้กระบวนการ P D C A ของโรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ผลเฉลี่ยโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ด้านการวางแผนดำเนินงาน (Plan) พบว่า ผลเฉลี่ยโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ด้านการปฏิบัติตามแผน (Do)พบว่า ผลเฉลี่ยโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ด้านการกำกับ ติดตาม ประเมินผล (Check) พบว่า ผลเฉลี่ยโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ด้านการปรับปรุงและพัฒนา (Act) พบว่า ผลเฉลี่ยโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ข้อเสนอแนะ พบว่าด้านการวางแผนดำเนินงาน(Plan) ควรส่งเสริมการพัฒนาตนเองโดยรัฐเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่าย ควรวางแผนลดความรับผิดชอบหน้าที่พิเศษให้ลดลงเพื่อที่จะได้รับผิดชอบกิจกรรมลูกเสือมากขึ้น ควรหาวิทยากรพิเศษเพื่อพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกิจการลูกเสือ
ควรแสวงหางบประมาณเพิ่มเติมเพื่อใช้ในแผนการดำเนินการกิจการลูกเสือส่วน ด้านการปฏิบัติตามแผน(Do)พบว่าสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ ควรมีปรับปรุงพัฒนาสื่อการสอนลูกเสือเป็นระยะส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนลูกเสือให้มากยิ่งขึ้น ด้านการกำกับติดตามประเมินผล (Check)พบว่า การวัดประเมินผลให้เป็นไปตามการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสืออย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ด้านการปรับปรุงและพัฒนา (Act)พบว่าควรมีการวิเคราะห์ปัญหาและความสำเร็จ วิจัยเชิงพัฒนา หรือการประเมินผลกิจกรรมลูกเสือ เพื่อพัฒนากิจการลูกเสือ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น |
โพสเมื่อ :
08 พ.ค. 2556,23:05
อ่าน 10133 ครั้ง
|